งานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์
วันที่จัดงาน: 14 ธันวาคม - 14 มีนาคม
สถานที่จัดงาน: ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์, อำเภอเมือง

     กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มูลนิธิโครงการหลวง สถาบันวิจัยและพัฒนาเกษตรพื้นที่สูง กำหนดจัดงาน มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2554 ระหว่างวันที่ 14 ธันวาคม 2554 - 14 มีนาคม 2554 รวมระยะเวลา 99 วัน ณ สวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นการเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ทั้งโครงการพระราชดำริ และโครงการส่วนพระองค์ มีการ จัดแสดงสวนนานาชาติให้สอดคล้องทั้งภายในและภายนอกอาคาร นอกจากนี้ ยังมีการจำหน่ายสินค้าทางการเกษตร วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือทางการเกษตร ระบบน้ำ ฯลฯ การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การแสดง แสง สี เสียง ขบวนพาเหรด และการแสดงดนตรีในสวน

 
     
   
     
   
     
 

งานมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับเชียงใหม่
วันที่จัดงาน: 3 – 5 กุมภาพันธ์
สถานที่จัดงาน: ณ เวทีสวนสาธารณะหนองบวกหาด, อำเภอเมือง


     งานมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับจังหวัดเชียงใหม่ภายใต้แนวคิด"ใต้ร่มมหาราชาวัฒนธรรมล้ำค่าบุปผางามนามนพบุรีศรีนครพิงค์" รถบุปผชาติที่เข้าร่วมประกวดต่างประดับประดาพรรณไม้ต่างๆอย่างสวยงามโดยขบวนทั้งหมดจะเคลื่อนเข้าไปในตัวเมืองเชียงใหม่ ก่อนไปจอดให้ชมที่งานไม้ดอกไม้ประดับที่สวยสาธารณะหนองบวกหาดอ.เมืองจ.เชียงใหม่ โดยในงานมีการจัดแสดงนิทรรศการพันธุ์พืชพันธุ์ไม้ต่างๆ การประกวดไม้ดอกไม้ประดับ ตลอดจนการจำหน่ายพันธุ์ไม้ไว้ให้เลือกซื้อด้วย

     สำหรับกิจกรรมที่จัดขึ้นในปีนี้ประกอบด้วยการจัดนิทรรศการการประกวดไม้ดอกไม้ประดับและการจัดสวนณ สวนสาธารณะหนองบวกหาดและลานเอนกประสงค์ข่วงประตูท่าแพการแห่ประกวดขบวนรถบุปผชาติการประกวดนางงามบุปผชาติ และนางงามบุปผชาตินานาชาติการแสดงและจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนการแสดงดนตรีในสวนการจัดกาดหมั้วณ สวนข้างจวนผู้ว่าราชการจ.เชียงใหม่การตกแต่งเส้นทางการทำถนนดอกไม้ ภายใต้แนวคิด เชียงใหม่ นครที่เป็นที่สุดแห่งความสง่างามทาง วัฒรธรรมนอกจากนั้นการจัดงานมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับเป็นการจัดกิจกรรมที่ยิ่งใหญ่อีกกิจกรรมหนึ่ง เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ ที่เฝ้ารอคอยและเดินทางมาชมงานนี้ในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก

 
     
   
     
   
     
 

งานสตรอเบอรี่ ของดีอำเภอสะเมิง
วันที่จัดงาน: 11 - 14 กุมภาพันธ์
สถานที่จัดงาน: อำเภอสะเมิง

     งานสตรอเบอรี่และของดีอำเภอสะเมิงงานออกร้านและจำหน่ายสตอเบอรี่อันเลื่องชื่อของอำเภอสะเมิง และยังมีผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในอำเภอสะเมิงจากชาวบ้านมาวางจำหน่าย เพื่อส่งการ ท่องเที่ยวของอำเภอสะเมิง และจังหวัดเชียงใหม่

     กิจกรรมภายในงานประกอบด้วยขบวนแห่อันยิ่งใหญ่ที่ประดับไปด้วยสตอเบอรี่ มีทั้งการแสดงและจำหน่ายสตรอเบอรี่อันเลื่องชื่อของอำเภอสะเมิง และพืชผลทางการเกษตร การประกวดธิดาสตรอเบอรี่ ธิดาจำแลง และธิดาชนเผ่า การออกร้านจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การ แสดงศิลปวัฒนธรรมของชนเผ่า ๆ ต่างที่มีอยู่อย่างหลากหลาย ในอำเภอสะเมิง และยังมีกิจกรรมที่เป็นจุดเด่นของงาน คือการจัดพิธีแต่งงานและจดทะเบียน สมรสหมู่แบบชาวเขา ในวันสุดท้ายของการจัดงานด้วย ซึ่งงานสตรอเบอรี่และของ ดีอำเภอสะเมิง ประจำปี ณ ที่ว่าการอำเภอสะเมิง อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่

 
     
   
     
   
     
 

งานฤดูหนาวและงานกาชาดประจำปี
วันที่จัดงาน: 30 ธันวาคม - 8 มกราคม
สถานที่จัดงาน: ณ สนามด้านหลังศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่, อำเภอเมือง 

     งานฤดูหนาวและงานกาชาดจังหวัดเชียงใหม่ จัดขึ้นประจำทุกๆปี ในระหว่างเดือนธันวาคม - มกราคม ณ สนามด้านหลังศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ โดยการจัดงานจะ เน้นหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมแสดงผลงานตลอดทั้งปีและให้ประชาชนได้ร่วม ต้อนรับปีใหม่ร่วมกันกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การจำหน่ายสินค้า จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น เวทีการแสดงคาราวานสินค้าราคาถูก ร้านอาหารเลิศรสนานาชาติ การประกวดนางสาวเชียงใหม่ การแสดงคอนเสิร์ตของศิลปินชื่อดัง มหกรรมสินค้าพื้นเมืองและสินค้าโอทอป การแสดงดนตรี แสง สี เสียง รวมถึงกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย

 
     
   
     
   
     
 

งานตรุษจีนไชน่าทาวน์ เมืองเชียงใหม่
วันที่จัดงาน: 22 - 23 มกราคม
สถานที่จัดงาน: ถนนตรอกเล่าโจ๊ ตลาดวโรรส, อำเภอเมือง

     
     บรรยากาศงาน เทศกาลตรุษจีน “ไชน่าทาวน์เมืองเชียงใหม่” จะมีการตกแต่งประดับโคมไฟแบบจีนตลอดแนวถนน วิชยานนท์ ถนนช้างม่อย และตรอกเล่าโจ้ว มีการจัดเวทีการแสดงเอาไว้อย่างยิ่งใหญ่ถึง 2 เวที เวทีใหญ่บริเวณหน้าร้าน 7-Eleven สาขาตลาดวโรรส เวทีเล็กบริเวณตรอกเล่าโจ้ว ซึ่งจะมีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนกิจกรรมบนเวที อาทิ การแสดงศิลปวัฒนธรรมจีน การแสดงดนตรีจีน การประกวดหนูน้อยคิดดี้ ตี๋-หมวย (อายุระหว่าง 4-6 ปี) และการประกวด ตี๋-หมวย สวยเก่ง (อายุระหว่าง 7-9 ปี) การประกวดมิสเชียงใหม่ไชน่าทาวน์ การเสวนาเรื่องดวง โหงวเฮ้ง และราศี และพลาดไม่ได้กับการแสดงชุดพิเศษ “กายกรรมวัดเส้าหลิน” จากกรุงปักกิ่ง โดยสาธารณรัฐประชาชนจีนได้นำการแสดงแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-จีน เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน ซึ่งประกอบไปด้วยการแสดง 4 ชุดพิเศษได้แก่ การแสดงชุดภัคดีต่อชาติโดยวีรบุรุษหงั่กฮุ่ย การแสดงหมัดราชสีห์ การแสดงอาวุธ 18 อย่าง และการแสดงศรีษะเหล็กอรหันต์ เพียง 1 รอบเท่านั้น นอกจากนี้ ภายในงานได้นำภัตตาคารและร้านอาหารจีนชื่อดังของจังหวัดเชียง ใหม่มาจำหน่ายอาหารจีนรสเลิศในราคาย่อมเยาอีกด้วย

 
     
   
     
   
     
 

งานเทศกาลร่มบ่อสร้างและหัตถกรรมสันกำแพง
วันที่จัดงาน: 20 - 22 มกราคม 
สถานที่จัดงาน: ณ บริเวณหมู่บ้านหัตถกรรมบ่อสร้าง, อำเภอสันกำแพง 

     งานเทศกาลร่มบ่อสร้างสันกำแพง ได้มีการจัด “Street Fair” ตั้งแต่บริเวณปากทางเข้าหมู่บ้านจนถึงท้ายหมู่บ้านระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร มีการตกแต่งบ้าน และร้านค้าต่างๆ เป็นแบบล้านนาไทย และใช้ร่มสัญลักษณ์ของหมู่บ้านเป็นส่วนประกอบสำคัญในการตกแต่ง พร้อมทั้งประดับประทีปโคมไฟแบบพื้นเมือง การจัดขบวนแห่รถประดับร่ม การประกวดหัตถกรรม การออกร้านจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมประเภทต่างๆ การกินข้าวแลงขันโตก การประกวดธิดาบ่อสร้าง การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน และมหรสพอีกมากมาย

 
     
   
     
   
     
 

ประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์
     จัดขึ้นในเดือนเมษายน ในวันที่ 15 เป็นต้นไป ของทุกปี ที่บริเวณตัวเมืองจอมทอง มีขบวนรถจากชุมชน ห้างร้าน กลุ่มต่างๆ กว่า 40 ขบวน แห่ไปตามเมืองจอมทอง อำเภอจอมทอง จนถึง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมานานกว่า 200 ปี ตามตำนานเกิดขึ้นที่อำเภอเภอจอมทอง ถือเป็นแห่งแรกของประเทศไทยและแห่งเดียวในโลก ประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ กลายเป็นต้นแบบของการแห่ไม้ค้ำสะหลีของชาวล้านนา จนได้รับความนิยมไปทั่วภาคเหนือ และเป็นประเพณีที่เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดัง และได้รับความนิยมอย่างมาก

 
     
   
     
   
     
 

ประเพณียี่เป็ง
วันที่จัดงาน: เดือนพฤศจิกายน
สถานที่จัดงาน: ธุดงคสถานล้านนา, อำเภอสันทราย

     เป็นงานประเพณี อันยิ่งใหญ่แห่งดินแดนล้านนา ที่ได้ปฎิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาลหรือวันเพ็ญ เดือนยี่ของชาว ล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือน 12 ของภาคกลาง อันเป็นช่วงปลายฤดูฝน ต้นฤดูหนาว อากาศ ปลอดโปร่งท้องฟ้าแจ่มใส ธรรมเนียม ปฎิบัติของชาวล้านนาอย่างหนึ่งนอกเหนือจากการลอยกระทงในแม่น้ำก็คือ การจุดประทีปโคมลอยขึ้นไปสว่างไสวบนท้องฟ้า โดยมีคติความเชื่อว่า เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี บนสรวง สวรรค์ หรือบ้างก็เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ หรือสะเดาะเคราะห์ ให้เกิดความเป็นมงคลแก่ชีวิต

     ความรู้เกี่ยวกับประเพณียี่เป็ง ในภาษาคำเมืองของทางเหนือ “ยี่” แปลว่า สอง และคำว่า “เป็ง” หมายถึง เพ็ญ หรือพระจันทร์เต็มดวง ดังนั้นจึง หมายถึงประเพณี พระจันทร์เต็มดวงในเดือนสอง โดยในพงศาวดารโยนกและจามเทวี มีบันทึกว่าครั้งหนึ่งได้เกิด อหิวาตกโรคขึ้นในแคว้นหริภุญไชย ทำให้ชาวเมืองต้องอพยพไปอยู่เมืองหงสาวดี นานถึง 6 ปี จึงจะเดินทางกลับ มายัง บ้านเมืองเดิมได้ เมื่อเวลาเวียนมาถึง วันที่ จากบ้านจากเมืองไป จึงได้มีการทำกระถางใส่เครื่องสักการบูชา ธูปเทียนลอย ลอยตามน้ำ เพื่อให้ไปถึงญาติพี่น้องที่ล่วงลับไป เรียกว่า การลอยโขมด หรือลอยไฟ ในงานบุญยี่เป็ง ยังมีการเทศน์มหาชาติ ผู้คนจะออกมาตกแต่งบ้านเรือน วัดวาอาราม และถนนหนทาง ด้วยต้นกล้วย อ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุงช่อประทีปและชักโคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา ยามค่ำคืน จะมีการจุดโคมลอย ปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี บนสรวงสรรค์ชั้นดาวดึงส์ จุดเด่นของงานนี้อยู่ที่การปล่อย โคมลอย ขึ้นไปในท้องฟ้า โดยเชื่อกันว่า เปลวไฟในโคมเป็นสัญลักษณ์ของความรู้ และแสงสว่างที่ได้รับจากโคม จะส่งผลให้ ดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้อง การจุดโคมลอยมี 2 แบบ คือแบบที่ใช้ปล่อยใน

     ประเพณียี่เปงจะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 13 ค่ำ ซึ่งถือว่าเป็น "วันดา" หรือวันจ่ายของเตรียมไปทำบุญเลี้ยงพระที่วัด ครั้น ถึงวันขึ้น 14 ค่ำ พ่ออุ้ยแม่อุ้ยและผู้มีศรัทธาก็จะพากันไปถือศีล ฟังธรรม และทำบุญเลี้ยงพระที่วัด มีการทำ กระทงขนาด ใหญ่ตั้งไว้ที่ลานวัด ในกระทงนั้นจะใส่ของกินของใช้ ใครจะเอาของมาร่วมสมทบด้วยก็ได้เพื่อเป็น ทานแก่คนยากจน ครั้นถึงวันขึ้น 15 ค่ำ จึงนำกระทงใหญ่ที่วัดและกระทงเล็ก ๆ ของส่วนตัวไปลอยในลำน้ำในงาน บุญยี่เป็งนอกจากจะมีการปฏิบัติธรรม ฟังเทศน์มหาชาติตามวัดวาอารามต่าง ๆ แล้ว ยังมีการประดับตกแต่งวัด บ้านเรือน และถนนหนทางด้วย ต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุง ช่อประทีป และชักโคมยี่เป็ง แบบต่าง ๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา พอตกกลางคืนก็จะมีมหรสพและ การละเล่นมากมาย มีการแห่โคมทอง พร้อมกับมีการจุดถ้วย ประทีป (การจุดผางปะติ๊ด)เพื่อบูชาพระรัตนตรัยการจุดบอกไฟ การจุดโคมไฟประดับตกแต่งตาม วัดวาอาราม และการจุดโคมลอยปล่อยขึ้นสท้องฟ้าเพื่อเพื่อบูชาพระเกตุ แก้ว จุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ความเชื่อ การปล่อยว่าวไฟหรือโคมลอยนี้ ชาวบ้านมักมีความเชื่อกันว่า เพื่อให้ว่าวได้นำเอาเคราะห์ ร้ายภัยพิบัติต่างๆออก ไป จาก หมู่บ้าน ดังนั้นว่าวหรือโคมลอยที่ปล่อยขึ้นไปถ้าไปตกในบ้าน ใครบ้าน นั้นต้องจะทำพิธีสะเดาะเคราะห์ เพื่อล้างเสนียด จัญไรทั้งปวงออกไป นอกจากนี้ ยังถือกันว่าเป็น การทำเพื่อบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และเพื่อความสนุกสนาน สร้างความสามัคคีกันใน หมู่บ้าน อีกด้วย

 
     
   
     
   
     
 

เทศกาลสงกรานต์ล้านนา
วันที่จัดงาน: 13 - 15 เมษายน
สถานที่จัดงาน: อำเภอเมือง

     เทศกาลสงกรานต์ล้านนา
ชาวล้านนาให้ความสำคัญวันปีใหม่เมืองมากเพราะถือว่าเป็นการแสดงความเลื่อมใสศรัทธาต่อพุทธศาสนา แสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ ความสามัคคีและสนุกสนานในหมู่คณะ และยังเป็นเทศกาลที่ญาติพี่น้องซึ่งแยกย้ายกันอยู่ตามที่ต่าง ๆ ได้มีโอกาสกลับมาพบปะสังสรรค์กัน จึงนับเป็นการรวมญาติครั้งใหญ่ที่สุดในรอบปี

     วันแรกของงาน คือ วันที่ 13 เมษายน ตามประเพณีพื้นเมืองเรียกว่า วันสังขานต์ล่อง คือ หมายความว่า วันนี้สิ้นสุดศักราชเก่า ในวันนี้จะได้ยินเสียงยิงปืนจุดประทัดกันแต่เช้าตรู่ การยิงปืนและการจุดประทัดนี้ มีความเชื่อถือกันแต่โบราณว่า เป็นการขับไล่เสนียดจัญไรต่าง ๆ ให้ล่องไปพร้อมกับสังขาร นอกจากนั้นชาวบ้านก็จะกวาดขยะมูลฝอยตามลานบ้านไปกอง ไว้แล้วจุดไฟเผาเสียและทำความสะอาดปัดกวาดบ้านเรือนให้เรียบร้อยเก็บเสื้อผ้ามุ้งหมอนผ้าปูที่นอนไปซัก อุปกรณ์ที่ซักไม่ได้ก็นำออกไปผึ่งแดดเสร็จแล้วก็ชำระร่างกายสระผม (ดำหัว) ให้สะอาด และมีการแห่พระพุทธรูปสำคัญประจำเมืองด้วย

     ถัดจากวันสังขารล่อง คือ วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า วันเนา หรือ วันเน่า ในวันนี้ตามประเพณีถือว่าเป็นวันสำคัญและเป็นมงคลแก่ชีวิต จะได้ประสบแต่ความดีงามตลอดปี จะไม่ทำอะไร ที่ไม่เป็นมงคล เช่นด่าทอ หรือทะเลาะวิวาทกัน ตอนเช้าต่างก็จะไปตลาดเพื่อจะจัดซื้ออาหารและข้าวของมาทำบุญเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันดา (คือวันสุขดิบทางใต้) ตอนบ่ายจะมีการขน ทรายเข้าวัดโดยขนจากแม่น้ำปิงแล้วนำไปยังวัดที่อยู่ใกล้บ้านเพื่อก่อเจดีย์ทรายตามลานวัด เจดีย์ที่ก่อขึ้นจะตบแต่งด้วยธงทิวสีต่าง ๆ ธงสีนี้ชาวพื้นเมืองเรียกว่า ตุง ทำด้วยกระดาษสี ตัด เป็นรูปสามเหลี่ยมชายธงและรูปร่างต่าง ๆ ติดปลายไม้ อีกชนิดหนึ่งตัดเป็นรูปลวดลายต่าง ๆ ติดปลายไม้เรียกว่า ช่อ การทานหรือถวายตุงหรือช่อนี้ถือกันว่าเมื่อตาย (สำหรับผู้ที่มีบาป หนักถึงตกนรก) จะสามารถพ้นจากขุมนรกได้ด้วยช่อและตุงนี้ ส่วนการขนทรายเข้าวัดนั้นถือว่าเป็นการทดแทนที่เมื่อตนเดินผ่านหรือเข้าออกวัด ทรายในวัดย่อมจะติดเท้าออกไปนอก วัดเป็นบาปกรรม ทางวัดจะได้ใช้ทรายเพื่อประโยชน์ในการสร้างหรือถมลานวัด เจดีย์ทรายนี้จะทำพิธีถวายทานในวันรุ่งขึ้น และจะมีการปล่อยนกปล่อยปลาอีกด้วย ในวันขนทรายนี้ จะมีการเล่นรดน้ำกันและเป็นการเล่นอย่างสนุกสนานที่สุดวันหนึ่ง ผู้หญิงจะแต่งกายพื้นเมืองจะนุ่งผ้าซิ่นสวมเสื้อแขนยาวทัดดอกเอื้องที่มวยผม ส่วนผู้ชายจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าชุดพื้น เมืองคล้องคอด้วยดอกมะลิ ถือขันหรือโอคนละใบใส่น้ำเพื่อรดกันอย่างสนุกสนาน และขนทรายเข้าวัดด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสทุกๆ คน

     วันที่สาม ตรงกับวันที่ 15 เมษายน เรียกว่า วันพญาวัน จะมีการ ดำหัว ซึ่งเป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวเมืองเหนือ คือ การนำลูกหลานญาติพี่น้องไปขอขมาลาโทษ(สูมาคาระวะ) ต่อผู้ใหญ่ในตอนเย็น วันนี้ตั้งแต่เช้าตรู่ชาวบ้านจะจัดอาหารหวานคาวใส่สำรับไปถวายพระที่วัด เป็นการถวายภัตตาหารหรือที่เรียกกันว่า ทานขันข้าว เป็นการถวายทานเพื่ออุทิศส่วนกุศล ถึงญาติพี่น้องบิดามารดาที่ล่วงลับไปแล้วอีกด้วย รวมทั้งถวายเจดีย์ทราย ถวายจ่อตุง ถือว่าเป็นอานิสงส์

     ประเพณีปีใหม่เมือง เป็นประเพณีที่แสดงถึงความกตัญญูกตเวที มีความเอื้ออาทรต่อกัน เป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่พี่น้องและชุมชน ด้วยการร่วมกันทำอาหารคาว - หวาน สำหรับ ไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ล่วงลับ การขนทรายเข้าวัดเพื่อถวายทานเจดีย์ทราย ถวายช่อตุง รดน้ำดำหัวผู้อาวุโสที่เคารพนับถือ ด้วยการร่วมตกแต่งเครื่องสักการะดำหัว ตลอดจนการสรง น้ำพระพุทธรูปสำคัญประจำเมือง ประจำวัดและประจำบ้าน

 
     
   
     
   
     
 

ประเพณีบูชาเสาอินทขิล
วันที่จัดงาน: พฤษภาคม - มิถุนายน
สถานที่จัดงาน: ณ วัดเจดีย์หลวง, อำเภอเมือง

     พิธีบูชาเสาอินทขิลหรือเสาหลักเมือง ซึ่งชาวเชียงใหม่เชื่อว่าเป็นเสาหลักที่สร้างความมั่นคง การอยู่ดีมีสุขให้คนเชียงใหม่ อินทขิลหรือเรียกว่า เสาหลักเมืองเชียงใหม่ ชาวเชียงใหม่ทราบดีว่า ทุกๆ ปีจะต้องมีพิธีสักการะบูชาเสาอินทขิล เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ให้แก่ชาวบ้านชาวเมืองรวมทั้งผู้ที่ทำเกี่ยวกับเกษตรโดยการเพาะปลูก โดยงานดังกล่าวได้อัญเชิญพระเจ้าฝนแสนห่าอันเป็นพระพุทธรูปที่บันดาลให้ฝนตกมาเป็นประธาน ในขบวนแห่และมีการสวดคาถาอินทขิลของหมู่สงฆ์ด้วย ชาวเชียงใหม่จะทำพิธีบูชาอินทขิลในตอนปลายเดือน 8 ต่อเดือน 9 หรือระหว่างเดือนพฤษภาคมต่อเดือนมิถุนายน โดยเริ่มในวันแรม 3 ค่ำ เดือน 8 เรียกว่า วันเข้าอินทขิล การเข้าอินทขิลจะมีไปจนถึงในวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน 9 ซึ่งเป็นวันออกอินทขิล จึงเรียกว่า เดือน 8 เข้า เดือน 9 ออก

     ประเพณีขึ้นขันดอกอินทขิล เป็นการบูชาใหญ่ของวัดเจดีย์หลวงจัดในช่วงเดือน พฤษภาคม – มิถุนายน เป็นงานที่สวยสดงดงาม เนื่องจากพิธีส่วนใหญ่จะมีการใส่บาตรดอกไม้ เป็นงานพิธีที่มุ่งการสร้างกำลังใจให้ชาวเมืองอยู่เย็นเป็นสุขและฝนตกต้องตามฤดูกาล ที่กำลังจะเริ่มต้นฤดูกาลเพาะปลูก