จำนวนเต็ม  
     
 
จำนวนเต็ม คือ จำนวนที่ไม่มีเศษส่วนและทศนิยมรวมอยู่ในจำนวนนั้นจำนวนเต็มประกอบด้วย  จำนวนเต็มบวก  จำนวนเต็มลบและศูนย์  ดังแผนภูมินี้ 
 
     
     
   
     
 

จำนวนเต็มแบ่งออกเป็น 3 ชนิด

 
 

จำนวนเต็มลบ

 
 

            จำนวนเต็มลบ คือ จำนวนที่มีค่าน้อยกว่า ศูนย์ มีตำแหน่งอยู่ทางด้านซ้ายมือของศูนย์เมื่ออยู่บนเส้นจำนวนและจะมีค่าลดลงเรื่อยๆ โดยไม่สามารถจะบอกได้ว่าจำนวนใดจะมีค่าน้อยที่สุดแต่เราสามารถรู้ได้ว่าจำนวนเต็มลบที่มีค่ามากที่สุดคือ -1 เราพอจะสรุปลักษณะที่สำคัญของจำนวนเต็มลบได้ดังนี้

 
        1. จำนวนเต็มลบเป็นจำนวนที่มีค่าน้อยกว่าศูนย์หรือถ้ามองบนเส้นจำนวนก็คือเป็นจำนวนที่อยู่ทางซ้ายมือของศูนย์
 
       2. จำนวนเต็มลบที่มีน้อยที่สุดไม่สามารถหาได้แต่จำนวนเต็มลบที่มีค่ามากที่สุดคือ -1
 
       3. ตัวเลขที่ตามหลังเครื่องหมายลบ ถ้ายิ่งมีค่ามากขึ้นจำนวนเต็มลบนั้นจะมีค่าน้อยลงกล่าวคือ -5 <-4<-3<-2<-1  
     
     
     
     
   
 

ศูนย์ ( ใช้สัญลักษณ์ "0" )

 
 

            ศูนย์(ใช้สัญลักษณ์ "0" )เป็นจำนวนเต็มอีกชนิดหนึ่ง ที่เราไม่ถือว่าเป็นจำนวนนับจากหลักฐานที่ค้นพบทำให้เราทราบว่ามนุษย์รู้จักใช้สัญลักษณ์"0"ในราวปี ค.ศ.800โดยที่"0"แทนปริมาณของการไม่มีของหรือของที่ต้องการกล่าวถึงแต่ก็ไม่ใช่ว่า0จะไม่มีความหมายถึงการไม่มีเสมอไปตัวอย่างเช่น ระดับผลการเรียนทางด้านความรู้โดยนักเรียนที่มีระดับผลการเรียนเป็น0ไม่ได้หมายความว่านักเรียนคนนั้นไม่มีความรู้เพียงแต่ว่ามีความรู้ในระดับหนึ่งเท่านั้น

 
     
   
 
จำนวนเต็มบวกหรือจำนวนนับ
 
 

            จำนวนเต็มบวกหรือจำนวนนับคือจำนวนเต็มที่มีค่ามากกว่า0ไปเรื่อยๆโดยที่ไม่สามารถระบุได้ว่าจำนวนนับตัวสุดท้ายเป็นอะไรจำนวนนับเริ่มต้นที่1,2,3,...ซึ่งเราทราบแล้วว่า จำนวนนับที่น้อยที่สุดคือ1จำนวนนับที่มากที่สุดหาไม่ได้ คุณสมบัติของศูนย์และหนึ่ง

 

 
 

การบวก – ลบจำนวนเต็ม

 
  1. ผลบวกระหว่างจำนวนเต็มบวก2จำนวนหรือจำนวนเต็มลบ2จำนวนจะมีค่าเท่ากับค่าบวกหรือค่าลบของผลบวกค่าสัมบูรณ์ตามลำดับ  
 

2. ผลบวกระหว่างจำนวนเต็มบวกกับจำนวนเต็มลบคือ ผลต่างระหว่างค่าสัมบูรณ์ทั้งสองโดยใช้ค่าสัมบูรณ์มากกว่าเป็นตัวตั้ง  แล้วใส่เครื่องหมายตามตัวมากกว่าการลบจำนวนเต็ม ต้องอาศัยการบวกตามข้อตกลงดังนี้


ตัวตั้ง-ตัวลบ=ตัวตั้ง+จำนวนตรงข้ามของตัวลบ


ตัวอย่าง เช่น6-2= 6+(-2)

2-6= 2+(-6)

(-15)-3=(-15)+(-3)

จะเห็นได้ว่าเวลาบวกเลขที่มีเครื่องหมายถ้าเครื่องหมายเหมือนกันก็เอาไปรวมกันถ้าเครื่องหมายต่างกันก็เอาไปหักกันจำนวนที่เหลือก็มีเครื่องหมายตามจำนวนมากในการลบนั้น เราเปลี่ยนเครื่องหมายตัวลบให้เป็นตรงข้ามคือถ้าตัวลบเป็นจำนวนลบก็เปลี่ยนเป็นจำนวนบวกแล้วเอาไปบวกกับตัวตั้งถ้าตัวลบเป็นจำนวนบวกก็เปลี่ยนเป็นจำนวนลบแล้วเอาไปบวกกับตัวตั้ง


ตัวอย่างเช่น 5+4 =9

                  5+(–4)= 1

 
                          (–5)+4= –1  
                          (–5)+(–4)= –9  
                          5–4 = 5+(–4)= 1  
                          (–5)–4 =(–5)+(–4)= –9  
                          (–5)–(–4)=(–5)+4 = –1